องค์ประกอบดนตรีไทยและการอ่านการเขียนโน้ตไทย
ดนตรีมีองค์ประกอบที่สำคัญ
ได้แก่ จังหวะ เสียง ทำนองเพลง การประสานเสียง พื้นผิว คีตลักษณ์
และสีสันของเสียง
สาระการเรียนรู้
ความแตกต่างเรื่ององค์ประกอบของดนตรี
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
จำแนกความแตกต่างเรื่ององค์ประกอบของดนตรี
ความแตกต่างเรื่ององค์ประกอบของดนตรี
๑. จังหวะ (Element
of Time)
จังหวะ คือ การแบ่งส่วนย่อยของทำนองออกเป็นระยะๆ และดำเนินไปด้วยเวลาอันสม่ำเสมอทกุระยะที่แบ่งออกเรียกว่า
จังหวะ จังหวะที่ใช้อยู่ในดนตรีไทยมีอยู่ ๓ ชนิดด้วยกัน คือ
๑.๑ จังหวะสามัญ เป็นจังหวะที่กำหนดอยู่ในใจของนักดนตรีและนักร้องไม่มีเครื่องทำจังหวะชนิดใดสามารถบรรเลงหรือร้องได้อย่างสม่ำเสมอ
๑.๒
จังหวะฉิ่ง เป็นการแบ่งจังหวะด้วยการตีฉิ่ง
และทำให้รู้จังหวะหนักและจังหวะเบาเสียง “ฉิ่ง” บอกจังหวะเบา เสียง “ฉับ”
บอกจังหวะหนัก ปกติจะตีฉิ่งและฉับสลับกันไป
ยกเว้นอาจจะมีเพลงบางเพลงที่ตีเสียงฉิ่งอย่างเดียวหรือตีเสียงฉับอย่างเดียว
แผนผังการตีฉิ่ง
หมายเหตุ : เครื่องหมาย - = เสียงฉิ่ง
+ = เสียงฉับ
๑.๓ จังหวะหน้าทับ จังหวะหน้าทับ หมายถึง การนับจังหวะด้วยการตีกลอง
เมือกลองตีจบ ๑ จังหวะหน้าทับเรียกว่า ๑ จังหวะ ตีจบ ๒ จังหวะหน้าทับ เรียกว่า ๒ จังหวะ
จังหวะของการ
ตีกลองเรียกว่า “หน้าทับ” ๑. จังหวะหน้าทับปรบไก่
๒. จังหวะหน้าทับสองไม้ จังหวะหน้าทับที่สำคัญ
ของดนตรีไทย ได้แก่
แผนผังการตีจังหวะหน้าทับ
แผนผังการตีจังหวะหน้าทับสองไม้
๒.
ระบบเสียง (Scale)
ระบบเสียงของดนตรีไทย
แบ่งเป็น ๗ เสียง โดยระยะห่างจากเสียงหนึ่งไปอีกเสียงหนึ่งมีระยะห่างเท่ากันโดยตลอด
ระบบเสียงของไทยหรือบันไดเสียงของไทยเรียกว่า “ทาง”
๓. ทำนองเพลง
ทำนองเพลง หมายถึง ระดับเสียงสูงๆ ต่ำๆ ทีมีความสั้นยาวแตกต่างกันออกไป
ทำนองเพลง
ในดนตรีแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือทำนองเพลงทางร้องและทำนองเพลงทางบรรเลง
๔. การประสานเสียง (Harmony)
การประสานเสียง เกิดจากการร้องหรือบรรเลงดนตรีคนละแนวเสียงให้ดังไปพร้อมๆ
กัน การประสานเสียงของดนตรีไทยเกิดทั้งการขับร้องและการบรรเลง
เสิยงประสานที่เกิดจากการขับร้อง
การขับร้องที่ทำให้เกิดการประสานเสียง มีอยู่ ๓ แบบ คือ ร้องคลอ ร้องเคล้า และร้องลำลอง
เสียงประสานจากการบรรเลงดนตรี
เกิดจากเครื่องดนตรีชนิดเดียวกัน บรรเลง ๒ เสียงพร้อมกันเช่น จะเข้ ขิม ฆ้องระนาด หรือเครื่องดนตรีต่างชนิดกันบรรเลงพร้อมกันคนละแนว
ก็จะทำให้เกิดเสียงประสานขึ้น
๕. รูปพรรณหรือพื้นผิว (Texture)
พื้นผิวของดนตรี คือ
แนวเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบทเพลงนั้นๆ แนวเสียงที่ถือว่าเป็นพื้นผิวของดนตรีมีทั้งที่เกิดในแนวตั้งและแนวนอนทำให้เกิดเป็นพื้นผิวในแบบต่างๆ
๕.๑ โมโนโฟนี (Monophony) คือ เพลงที่มีทำนองเดียว ไม่มีเสียงอื่นมาประกอบ
๕.๒
โฮโมโฟนี (Homophony) คือ เพลงที่มีแนวทำนองเด่นอยู่ที่ทำนองหลักเพียงแนวเดียวแนวเสียงอื่นเป็นเพียงส่วนประกอบให้ทำนองหลักมีความไพเราะมากขึ้น
๕.๓ โพลิพโฟนี (Polyphony) คือ เพลงที่มีทำนองมากกว่า ๒ ทำนอง แด่ละทำนองมีความสำคัญเท่าๆ
กัน ความสัมพันธ์ของแต่ละทำนองจะอยู่ที่เสียงในแนวนอน
๕.๔ เฮเทอโรโฟนี (Heterophony) คือ เพลงที่มีทำนองมากกว่า ๒ ทำนองขึ้นไป
ทำนองนี้ไม่มีการใช้คอร์ด มีเพียงทำนองหลัก และมีการแปรทำนองหลักออกเป็นแนวต่างๆ ตามชนิดของเครื่องดนตรี
การแปรทำนองนี้ต้องกลมกลืนกับทำนองหลักของดนตรีไทย
๖.
รูปแบบหรือคีตลัก์ (Forms)
คีตลักษณ์ หมายถึง รูปแบบโครงสร้างทำนองเพลง รูปแบบโครงสร้างของทำนองเพลงไทย
จะแบ่งทำนองออกเป็นท่อนดังนี้
๖.๑ เพลงท่อนเดียว เช่น เพลงลาวครวญ เพลงเงี้ยวรำลึก
๖.๒ เพลงสองทอน เช่น เพลงแขกต่อยหม้อ เพลงลาวเสี่ยงเเทียน
๖.๓ เพลงสามท่อน เช่น เพลงลาวดวงเดือน ลาวคำหอม
เพลงแขกสาหร่าย
๖.๔ เพลงสี่ท่อน เช่น เพลงชมแสงจันทร์ เพลงใบ้คลั่ง
๖.๕ เพลงห้าทอน เช่น เพลงพม่าห้าท่อน
๗.
สีสันของเสียง (Tone color)
สีสันของเสียง
หมายถึง ความหลากหลายของเสียงที่เกิตจากเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน บรรเลงในบทเพลงเดียวกัน
วงดนตรีแต่ละประเภทจะมีสีสันของเสียงที่แตกต่างกันด้วย เช่น วงปี่พาทย์ ก็จะมีสีสันที่แตกต่างจากวงเครื่องสาย
เป็นต้น ถ้าเป็นเครื่องดนตรีระนาดเอกสีสันของเสียงก็แตกต่างจาก ฆ้องวงเล็ก เป็นต้น
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑. ให้นักเรียนจัดกล่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ค้นคว้าเรื่ององค์ประกอบของดนตรีไทยหัวข้อจังหวะ
เพื่ออภิปรายหน้าชั้นเรียน
๒. ให้นักเรียนจัดกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ค้นคว้าเรื่ององคประกอบของดนตรีไทย
หัวข้อระบบเสียงทำนองเพลง การประสานเสียง รูปพรรณหรือพื้นผิว ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
แล้วจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. จังหวะที่ใช้อยู่ในวงดนตรีไทยมีอยู่กี่ชนิด
๒. การแบ่งระบบเสียงของไทยแบ่งอย่างไร
๓. ทำนองเพลง (Melody) หมายถึงอะไร
๔. การปรั้ สานเสียง (Hamony) หมายถึงอะไร
๕. เฮเทอโรโฟนี (Heterophony) คืออะไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น