วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยจากวัฒนธรรมไทย

ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยจากวัฒนธรรมต่างๆ

  ดนตรีไทยมีมาแต่สมัยสุโขทัย และพัฒนาสืบเนื่องต่อมาจนปัจจุบันทั้งเครื่องดนตรีรูปแบบการบรรเลง วิธีเล่น บทเพลง และการขับร้อง

สาระการเรียนรู้
          ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
          กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
          อธิบายประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย

          ดนตรีไทยมีความสัมพันธ์กับชีวิตคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดนตรีไทยได้ถูกนำมาบรรเลงเพื่อวัตถุประสงค์ต่างกัน เช่น บรรเลงประกอบพิธีต่าง ๆ ตามความเชื่อของแต่ละบุคคลหรือท้องถิ่นเพื่อความบันเทิงของคนในชุมชน เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว เพื่อประกอบการแสดงหรืออาจกล่าวได้อย่างสั้นๆ ว่า ดนตรีมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่เกิดจนตาย ลักษณะและรูปแบบของดนตรีมักมีความเรียบง่ายตามลักษณะของสังคม และประเภทของงาน
          วิวัฒนาการของดนตรีไทยแต่ละยุค เราพิจารณาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ทุกประเภท นับจากที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยเป็นต้นมา ตลอดจนวรรณคดีทุกเรื่องที่มีการกล่าวอ้างถึงดนตรีไทย

 
สมัยกรุงสุโขทัย

สมัยกรุงสุโขทัย
  ดนตรีสมัยกรุงสุโขทัย มีลักษณะเป็นการขับลำนำและร้องเล่น มีแนวทำนองสั้นๆ ร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง มีเครื่องดนตรีกล่าวอ้างปรากฏในวรรณคดี คือ แตร สังข์ มโหระทึก ฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ บัณเฑาะว์ซอพุงตอ (ซอสามสาย) ปี่ไฉน ระฆัง และกังสดาล เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่า วงดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยมีดังนี้
          ๑. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง ๑ คน ดีดพิณและร้องลำนำไปด้วย
          ๒. วงขับไม้ มีผู้บรรเลง ๓ คน คือ
 


๑.วงบรรเลงพิณ ๒.วงขับไม้

  คนขับลำนำ คนสีซอสามสาย และคนไกวบัณเฑาะว์ วงดนตรีนี้เรียกว่า วงขับไม้ เป็นวงดนตรีโบราณของไทยที่ถือว่าเป็นของสูงศักดิ์ โอกาสที่จะขับไม้คือ ในพระราชพิธีสมโภช เช่น สมโภชพระมหาเศวตฉัตร สมโภชเจ้าฟ้าและสมโภชช้างเผือก

  ๓.วงปี่พาทย์ เป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้าแยกเป็น ๒ ชนิด คือ
  ๓.๑ วงปี่พาทย์เครื่องหาอย่างเบา
  ๓.๒ วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก




วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา(สุโขทัย)

๓.๑ วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา มีเครื่องดนตรี ๕ ชิ้น คือ ปี่นอก โทน ๒ ใบ ฆ้องคู่ และ ฉิ่งใช้ประกอบการแสดงละครชาตรี ซึ่งเป็นละครเก่าแก่ของไทย



วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก(สุโขทัย)

          ๓.๒ วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก มีเครื่องดนตรี ๕ ชิ้น คือ ปี่ใน ตะโพนไทย ฆ้องวงใหญ่กลองทดั ๑ ใบ และฉิ่ง ใช้ประกอบงานพิธีและการแสดงมหรสพต่างๆ




วงมโหรีเครื่องสี่

          ๔. วงมโหรี เป็นการนำวงบรรเลงพิณและวงขับไม้มาผสมกัน เป็นลักษณะของวงมโหรีเครื่องสี่ประกอบด้วยผู้บรรเลง ๔ คน คือ คนขับลำนำและ ตีกรับพวงให้จังหวะ คนสีซอสามสายคลอเสียงร้องคนดีดกระจับปี่ และคนตีโทนกำกับจังหวะ


สมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยกรุงศรีอยุธยา
          มีเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นดังปรากฏหลักฐานในกฎมนเทียรบาล สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า “ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน” แสดงว่ามีผู้นิยมเล่นดนตรีมาก เสียงระเบ็งเซ็งแซ่จนต้องตรากฎมนเทียรบาลออกมาห้ามไว้ วงดนตรีสมัยนี้เปลี่ยนจากสมัยสุโขทัย ดังนี้

วงปี่พาทย์เครื่องห้า(อยุธยา)

          ๑. วงปี่พาทย์เครื่องห้า การจัดวงคล้ายกับสมัยสุโขทัยแต่สมัยอยุธยาได้เพิ่มระนาดเอกเข้ามา
วงดนตรีจึงประกอบด้วยระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ๑ ใบ ตะโพนไทยและฉิ่ง



วงมโหรีเครื่องหก

          ๒. วงมโหรี พัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีเครื่องหก ประกอบด้วย ซอสามสายคลอ
เสียงร้องกระจับปี่ โทน รำมะนา ขลุ่ย กรับพวง


 
สมัยกรุงธนบุรี

สมัยกรุงธนบุรี
  ระยะเวลาเพียง ๑๕ ปี บ้านเมืองอยู่ในระหว่างฟื้นฟูบูรณะประเทศหลังจากสงคราม จึงไม่มีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงใดๆ ดนตรีจึงยังคงรูปแบบเหมือนสมัยอยุธยา



สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์




วงปี่พาทย์เครื่องห้า

          สมัยรัชกาลที่ ๑ การจัดวงปี่พาทย์เครื่องห้าได้เพิ่มกลองทัดเข้ามาในวงอีก ๑ ใบ ทำให้วงปี่พาทย์มีกลองทัด ๒ ใบ เสียงสูงและเสียงต่ำเป็นที่นิยมในปัจจุบัน




วงปี่พาทย์เสภา(เครื่องเดี่ยว)   วงปี่พาทย์เสภา(เครื่องคู่)

          สมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นยุคทองของดนตรีไทย เพราะรัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดดนตรีไทยมากเป็นพิเศษ พระองค์มีซอ ๓ สายคู่พระหัตถ์ ชื่อซอสายฟ้าฟาด และได้พระราชนิพนธ์เพลงบุหลันลอยเลื่อนซึ่งไพเราะมาก ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้นำวงปี่พาทย์มาบรรเลงประกอบการขับเสภาเป็นครั้งแรก มีการสร้างกลองชนิดใหม่เรียกกลองสองหน้า ซึ่งดัดแปลงมาจากเปิงมางของมอญพเพื่อใช้แทนตะโพนไทย และกลองทัดซึ่งดังกลบเสียงร้อง



วงปี่พาทย์เครื่องคู่

          สมัยรัชกาลที่ ๓ มีการพัฒนาวงปี่พาทย์เครื่อง โดยได้ประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และประดิษฐ์ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่




วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

          สมัยรัชกาลที่ ๔ มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีเพิ่มขึ้น คือ ระนาดเหล็ก วงปี่พาทย์เครื่องคู่จึงพัฒนามาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ นอกจากนี้มีการผสมวงเครื่องสายขื้นอีกด้วย




วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

          สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ชนิดใหม่ เรียกว่าปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ใช้บรรเลงประกอบ การแสดงละครดึกดำบรรพ์ มีลักษณะเสียงทุ้ม นิ่มกว่าวงปี่พาทย์ชนิดอื่นๆ




วงเครื่องสายผสมขิม

          สมัยรัชกาลที่ ๖ วงดนตรีได้พัฒนารูปแบบขึ้นอีก คือ มีการนำเครื่องดนตรีของต่างชาติมาผสมเช่นวงเครื่องสายนำเอาขิมของจีนมาผสม และนำออร์แกนของฝรั่งเข้ามาผสมเป็นรูปแบบของวงเครื่องสายผสมนอกจากนี้ยังนำเอาอังกะลุงซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของอินโดนีเซียเข้ามาด้วย
 


วงเครื่องสายผสมเปียนโน



วงอังกะลุง

          สมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยดนตรีไทยมาก และได้พระราชนิพนธ์เพลงไพเราะไว้ คือ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง เพลงเขมรละออองค์ (เถา) เพลงราตรีประดับดาว (เถา) ยุคนี้เป็นยุคดนตรีรุ่งเรืองถึงขีดสุด แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ดนตรีไทยเริ่มซบเซาลงเพราะเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยทัดเทียมกับอารยประเทศทั้งหลาย จึงห้ามมิให้ดนตรีไทยบรรเลง ถ้าไม่ได้ขออนุญาตก่อนนับตั้งแต่นั้นตนตรีไทยก็ซบเซาลง แม้ภายหลังนโยบายดังกล่าวยกเลิกไป แต่ดนตรีไทยก็ไม่ได้เจริญรุ่งเรือง
 

          ปัจจุบัน เป็นที่น่ายินดีที่ดนตรีไทยได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอีกครั้ง ด้วยความสนพระทัยของ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีไทย จนเป็นที่ประจักษ์ ยังผลให้หน่วยงาน สถาบันการศึกษาตางๆ หันมาจัดกิจกรรมดนตรีไทยเพื่อสนองเบื้องยุคลบาทของพระองค์ เช่น รัฐบาลกำหนดให้มีวงมหาดุริยางค์เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ ที่ทรงมีคุณูปการด้านดนตรีไทย รวมทั้งเยาวชนรุ่นใหม่ให้ความสนใจดนตรีไทยเพิ่มขึ้น จึงหวังได้ว่าดนตรีไทยจะยังคงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไปตราบนานเท่านาน

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
          ให้นักเรียนจัดกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ค้นคว้าวิวัฒนาการดนตรีสมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ มีความแตกต่างกันอนย่างไร อภิปรายหน้าชั้นเรียน


คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้

ตอนที่ ๑
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
          ๑. วงปี่พาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดงละครชาตรี คือวงปี่พาทย์ชนิดใด
          ๒ วงปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยอยุธยาต่างกับวงปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยปัจจุบันอย่างไร
          ๓. ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีวงดนตรีชนิดใดเกิดขึ้นบ้าง 

ตอนที่ ๒
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย X ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
. จากหลักฐานที่ค้นคว้าเกี่ยวกับดนตรีไทยพบว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด
ก. สมัยกรุงสุโขทัย
ข. สมัยกรุงศรีอยุธยา
ค. สมัยกรุงธนบุรี
ง. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
. วงดนตรีไทยในสมัยกรุงสุโขทัยที่มีผู้บรรเลงและขับร้องเพียงคนเดียวคือวงดนตรีใด
ก. วงขับไม้
ข. วงมโหร
ค. วงปี่พาทย์
ง. วงบรรเลงพิณ
. ระนาดเอกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยใด
ก. สมัยกรุงสุโขทัย
ข. สมัยกรุงศรีอยุธยา
ค. สมัยกรุงธนบุรี
ง. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
. สมัยรัชกาลที่ ๑ ได้เพิ่มเครื่องดนตรีชนิดใด
. ปีใน
. ระนาดเอก
. กลองทัด ๑ ใบ
. ตะโพนไทย
๕. ยุคทองของดนตรีเกิดขึ้นในสมัยใด
. รัชกาลที่ ๑
. รัชกาลที่ ๒
. รัชกาลที่ ๓
. รัชกาลที่ ๔
. วงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ คือวงดนตรีใด
ก. วงปี่พาทย์เครื่องคู่
. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
ค. วงปี่พาทย์เครื่องห้า
. วงปี่พาทย์มอญ
.วงดนตรีชนิดใดที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔
. วงปี่พาทย์เครื่องคู่
. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
ค. วงปี่พาทย์เครื่องห้า
. วงปี่พาทย์มอญ
๘. วงปี่พาทย์ใดที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕
. วงปี่พาทย์เครื่องคู่
. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
. วงปี่พาทย์เครื่องห้า
. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
. วงอังกะลุงมีขึ้นในสมัยใด
ก. รัชกาลที่ ๑
ข. รัชกาลที่ ๓
ค. รัชกาลที่ ๖
ง. รัชกาลที่ ๗
๑๐. เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งเกิดขึ้นในสมัยใด
ก. รัชกาลที่ ๒
ข. รัชกาลที่ ๔
ค. รัชกาลที่ ๖
ง. รัชกาลที่ ๗

*******************************

สุนทรภู่  กวีเอกของไทยเราได้สดุดี “การดนตรี” ไว้ในเรื่องพระอภัยมณีว่า

"...อันดนตรี มีคุณทุก อย่างไป
ย่อมใช้ได้ ดังจินดา ค่าบุรินทร์
ถึงมนุษย์ ครุฑา เทวราช
จัตุบาท กลางป่า พนาสิน
แม้นปี่เรา เป่าไป ให้ได้ยิน
ก็สุดสิ้น โทโส ที่โกรธา
ให้ใจอ่อน นอนหลับ ลืมสติ
อันลัทธิ ดนตรี ดีหนักหนา
ซึ่งสงสัย ไม่สิ้น ในวิญญา
จงนิทรา เถิดจะเป่า ให้เจ้าฟัง..."

พระอภัยมณี (พบสามพราหมณ์)

3 ความคิดเห็น:

ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยจากวัฒนธรรมไทย

ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยจากวัฒนธรรมต่างๆ   ดนตรีไทยมีมาแต่สมัยสุโขทัย และพัฒนาสืบเนื่องต่อมาจนปัจจุบันทั้งเครื่องดนตรีรูปแบบก...