วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

บุคคลิกภาพและจรรยาบรรณของนักดนตรี


บิคคลิกภาพและจรรยาบรรณของนักดนตรี

ไม่ว่าการศึกษาวิชาการดนตรีนั้น จะเป็นไปเพื่อบระกอบอาชีพ เพื่อประดับความรู้หรือเพี่อการอื่น ๆ ผู้ศึกษา เมื่อสามารถเล่นดนตรีเป็น อ่านโน้ตดนตรีได้ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นนักตนตรีคนหนี่ง ความเก่งกาจสามารถมากหรือน้อย เป็นเรื่องทที่จะต้องฝึกฝนกันเอาเองในภายหลัง การที่นักดนตรีผู้ที่เก่งกว่าจะเหยีดหยามผู้ที่มีฝีมือด้อยกว่า ว่ามิใช่เป็นนักดนตรีที่แท้จริงนั้น ย่อมเป็นโลกทัศน์ที่ผิดเป็นอยางยิ่ง
การดนตรีก็เปรียบได้กับศาสตร์อื่นๆ ทั่วไป คือ มีทั้งงผู้ที่เก่งกว่าและผู้ที่ยัง อยู่ในระหว่างการฝึกฝน คือมีฝีมือที่ด้อยกว่า ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงไม่น้อยไปกว่าเนี้อหาทฤษฎีดนตรีก็คือการหมั่นฝึกฝนและสำรวจตนเองในเรื่องของโลกทัศน์ที่มีต่อดนตรี และเรื่องทั่วไป

คุณสมบัติของนักดนตรีที่ดี
๑. การขยันขันแข็งในการฝ้กซ้อม จะช่วยให้มความคล่องตัว ช่วยเพิ่มพูนฝีมือ เพิ่มพูนความเข้าใจ เพิ่มพูนความเร็ว การขยันฝึกซ้อมนั้น จะต้องทำให้เป็นนิสัย แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้เก่งแล้ว ก็ยังต้องหมั่นฝึกซ้อมอยู่เสมอ
๒. หมั่นศึกษาหาความรู้ทางดนตรีเพิ่มเติมอยู่เสมอจากครู อาจารย์ จากเพื่อนร่วมงาน จากตำหรับตำรา จากการฟัง ฯลฯ วิวัฒนาการและเทคโนโลยี ก้าวไปบ้างหน้าตลอดเวลาถ้าหยุดศึกษา จะกลายเป็นคนล้าหลัง และตามเพื่อนพ้องไม่ทัน
๓. มีความละเอียดละออในการฟัง การอ่าน การเขียนและการเล่น อย่าปล่อยให้รายละเอียดที่ไพเราะน่าสนใจ หรือกลเม็ดต่างๆ ผ่านไป โดยมิได้กระทบประสาทสัมผัสของเรา
๔. หมั่นดูแลรักษาเครื่องมือประจำตัวที่ใช้ประกอบอาชีพ หรือเล่นเป็นประจำ ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เสียงทุกเสียงต้องไม่เพี้ยนเลย(เป็นอันขาด) สภาพของเครื่องตนตรีต้องใช้การได้ดีตลอดเวลา
๕. ลดอัตตาในตนเองให้มากที่สุด จงเป็นคนถอมตัว อย่าถือว่า ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ อย่าคิดว่าเราเองต้องเป็นฝ่ายถูกตลอดกาล การคิดเช่นนั้นจะทำให้เราไม่ได้อะไร ที่ใหม่ๆ และกลายเป็นคนโง่ที่คิดว่าตัวเองฉลาด
ตนตรีนั้น เป็นศิลปะอิสระที่ไร้ขอบเขต เช่นเดียวกับภาพเขียน ความไพเราะ ไม่ได้อยู่ที่การเล่นถูกต้องตามต้นกำเนิดเดิม แต่อยู่ที่ผู้เล่นสามารถสื่อถึงผู้ฟังได้ดีเพียงไรในท่วงทำนองเดียวกัน เสียงประสานหรือคอร์ด อาจเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับลีลาของเพลง และอารมณ์ที่ผู้เล่นต้องการให้เป็นไป การมีอัตตามาก จะทำให้เราถูกขังอยู่กับความคิดคำนึงของเราคนเดียว และไม่อาจก้าวพ้นไปรับความเป็นอิสระในทางความคิด ทั้งที่เราก็มีความสามารถในการสร้างสรรค์ได้ดีคนหนึ่ง
๖. อย่าตำหนิติเตียนผู้มีฝีมือด้อยกว่า จงแนะนำสิ่งที่น่าสนใจแก่เขา ตามกำลังความสามารถของเขาที่จะรับได้ จงให้กำลังใจแก่เขา และส่งเสริมให้เขามีฝีมือขึ้นมาเสมอเรา หรือก้าวไปกว่าเรา ความเจริญและความดีงามของสังคมอยู่ที่การมีคนที่มีคุณภาพจำนวนมาก
๗. เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ไม่ว่าในหมู่เพื่อนร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ในธุรกิจการดนตรี รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของคนอื่น อย่าเป็นตัวสร้างปัญหาให้กับบุคคลอื่นเสมอๆ จะทำาให้เรากลายเป็นบุคคลที่น่าเบื่อหน่าย
๘. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา ไม่วาเป็นการนัดฝึกซ้อมหรือในการแสดงจริง ต้องตรงต่อเวลาจริงๆ ทั้งต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับอุปสรรคในการเดินทางด้วย งานทุกงานควรเริมต้นและจบลงตามกาหนดการ
๙. เมื่อมีโอกาสถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น จงกระทำในลักษณะ แนะนำ แจกแจงให้เห็นจงอย่าสอน ถ้าจะสอนต้องคำนึงถึงความยอมรับในตัวเรา จากผู้เรียนให้มาที่สุด
๑๐. จงเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น อย่าถือวิสาสะหยิบหรือเคลื่อนย้ายเครื่องมือของผู้อื่น โดยเจ้าของไม่ได้อนุญาตเสียก่อน
๑๑. จงเป็นผู้มองโลกในแง่ดีเสมอ ให้อภัยคน อย่าเป็นคนโกรธง่าย อย่าใช้ยาเสพติด เมื่อต้องการอารมณ์สุนทรีย์ นักดนตรีควรจะมีอารมณ์สุนทรีย์โดยธรรมชาติ มองโลกให้กว้าง
๑๒. อย่าเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น ทั้งฝีมือและพฤติกรรม คนแต่ละคนมีจริตและสิ่งเอื้ออำนวยที่แตกต่างกัน โดยธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบกันได้ ความกระตือรือร้นความทะเยอทะยานที่จะมีฝีมือและความรู้ที่มากขึ้น ควรขึ้นอยู่กับความท้าทายจากสิ่งที่เราเรียนรู้นี้ มิใช่เกิขึ้นเพราะอยากเอาชนะผู้อื่น เราจะไม่วันชนะใครตราบเท่าที่เราอยากเอาชนะ
                 ความเป็นนักดนตรี สิ่งที่จะต้องกระทบเป็นประจำคือเล่นดนตรีเพื่อสื่อถึงผู้ฟัง เท่ากับว่าตลอดเวลาเราทำงานเพื่อผู้อื่นอยู่แล้ว ดังนั้นจิตสำนึกของนักดนตรี จึงควรคิดถึงผู้อื่นก่อนตนเองจงทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อผู้อื่นได้รับความสุขเต็มที่ จะต้องนึกเสมอว่า สิ่งที่ออกไปจากเรา ผู้อื่นเขารับแล้วพอใจไหม ยินดีหรือไม่ การคิดคำนึงอย่างนี้จะทำให้เรากระทำแต่สิ่งที่ดีอยู่ตลอดเวลาและรับความรู้สึกเป็นสุข ทึ่ได้ทำให้ผู้อื่นมีความสุข


วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล

การรู้จักดูแลรักษาเครื่องดนตรีหลังจากการใช้งานอย่างถูกวิธี เครื่องดนตรีจะต้องมีความสะอาดมีสภาพพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้มีคุณภาพเสียงและมีอายุการใช้งานของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดนานขึ้น

สาระการเรียนรู้
                การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder)

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
                บอวิธีใช้และบำรุงรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder) อย่างถูกวิธี
  
การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder)

ส่วนประกอบของขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์


การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder)
ประโยชน์ในการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องดนตรี
เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เล่น

หลังจากการเล่นหรือใช้งานผู้เล่นควรปฏิบัติดังนี้
1. นำขลุ่ยซึ่งส่วนมากทำด้วยพลาสติกไฟเบอร์กลาสล้างด้วยน้ำอุ่นโดยผสมน้ำสบู่อ่อนๆ หรือล้างด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน
2. การต่อประกอบหรือดึงข้อต่อขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ควรถอดข้อต่อด้วยการค่อยๆ หมุนออกตามเข็มนาฬิกา ท่อนส่วนหัว (Head Joint)ที่ล้างสะอาดแล้วเช็ดด้วยผ้านุ่มที่สะอาดให้แห้ง ห้ามใช้การสะบัดให้แห้งเพราะขลุ่ยรีคอร์เดอร์อาจแยกหลุดออกจากกัน หล่นแตกได้ง่าย

3. การทำความสะอาดเช็ดด้วยผ้าที่นุ่มที่ส่วนกลาง(Middle Joint) และส่วนท้าย (Foot Joint) ด้วยวิธีการถอดข้อต่อออกจากกัน อาจจะใช้ไม้หรือแท่งพลาสติกทำความสะอาดสอดผ้าเช็ดข้างในตัวขลุ่ยใหัสะอาด

4. เมื่อเห็นว่าแห้งดีแล้วควรทาวาสลินที่บริเวณข้อต่อต่างๆเพื่อให้ข้อต่อง่ายต่อการประกอบเข้าด้วยกัน และไม่แน่นเกินไปเมื่อถอดทำความสะอาด

5. ควรเก็บใส่ซองหรือกล่องที่มากับตัวเครื่องให้เป็นระเบียบโดยวางไว้บริเวณที่ไม่ตกหล่น


กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

๑.      นักเรียนศึกษาหรือสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการดูแลรักษาขลุ่ยที่ไม่ได้ทำด้วยไฟเบอร์กลาสเชน ขลุ่ยไทย ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ทำด้ายไม้ ว่ามีการดูแลรักษาอย่างไร เมื่อได้ข้อมูลให้นำเสนอครูและเพื่อนร่วมชั้น
๒.    นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เขียนผลเสียที่เกิดกับเครื่องดนตรีที่ไม่ทำความสะอาดขาดการดูแลลงในกระดาษให้ได้มากที่สุด ตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑.      นักเรียนคิดว่าถ้าใช้เครื่องดนตรีแล้วไม่ดูแลรักษาความสะอาดจะเกิดความเสียหายกับเครื่องดนตรีนั้นๆอย่างไร
๒.    ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาสทำความสะอาดด้วยวิธีใด

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การฝึกปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ Recorder

การฝึกปฏิบัติ
เครื่องดนตรีสากล(ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ : Recorder)

การบรรเลงเครื่องดนตรี เป็นกิจกรรมแสดงออกทางดนตรี แสดงถึงความรู้ด้านดนตรี ความซาบซึ้ง ความมีสุนทรียภาพ สามารถถ่ายทอดความรู้สึกด้วยการบรรเลงเพลงจากเครื่องดนตรี การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีต้องอาศัยทักษะด้วยความตั้งใจ มีสมาธิ และฝึกบ่อยครั้งจนให้เกิดความชำนาญ

สาระการเรียนรู้
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ : Recorder)

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ : Recorder)

การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล (ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ : Recorder)

การฝึกขลุยรีคอร์เดอร์ (Recorder)

การจับขลุ่ยรีคอร์ดอร์
1. จับขลุ่ย โดยให้มือซ้าย (Left Hand) อยู่ด้านบนของขลุ่ยด้านปากเป่า โดยนิ้วชี้ นิ้วกลางนิ้วนาง แทนด้วยเลข 1 2 และ 3 ตามลำดับ นิ่วหัวแม่มือปิดที่รูเสียงด้านหลัง
2. มือขวา (Right Hand) จะใช้ 4 นิ้ว วางข้างล่างมือซ้าย คือ นิ้วชี้มือขวาเลข 1 นิ้วกลางมือขวาเลข 2 นิ้วนางมือขวาเลข 3 นิ้วก้อยมือขวาเลข 4 โดยใช้นิ้วมือขวาจับประคองขลุ่ยไว้
3. การเป่า ควรฝึกการควบคุมลม ลมที่เป่าต้องสม่ำเสมอ เป่าออกเสียงให้ตำแหน่งลิ้นเหมือนพูดคำว่า ทู “too” ใช้ลมเป่าพอประมาณ ไม่เป่าด้วยลมที่แรงหรือลมที่เบาเกินไป
   


ผังการวางตำแหน่งนิ้ว Recorder





กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-4 คน เลือกบทเพลงสั้นๆ ที่สนใจจากหนังสือเรียน หรือจากบทเพลงที่สืบค้นจากแหล่งความรู้อื่นๆ ฝึกซ้อมร่วมกันจนเกิดความชำนาญ แล้วนำมาแสดงหน้าชั้นเรียนโดยครูให้คำแนะนำ
2. นักเรียนเลือกบทเพลงจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น จากการสืบค้นในเว็บไซต์ต่างๆ ของขลุ่ยรีคอร์เดอร์จากห้องสมุด หรือจากผู้รู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ฝึกเล่นจนเกิดความชำนาญ และนำมาแสดงหน้าชั้นเรียนโดยให้เพื่อนและครูวิจารณ์ แนะนำการบรรเลงเพื่อนำไปปรับปรุง

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
1. ถ้านักเรียนเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ด้วยลมที่แรงเกินไป เสียงที่ได้จะเป็นอย่างไร
2. ในการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ต้องฝึกอะไร อย่างไร อธิบาย



วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น



ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น

ทฤษฎีดนตรีสากลเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องศึกษาเพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานสู่การปฏิบัติเครื่องดนตรีโน้ตดนตรีสากลและเครื่องหมายต่างๆ คือสัญลักษณ์ที่ให้ปฏิบัติ ดังนั้นทฤษฎีดนตรีสากลจึงควรศึกษาและฝึกเพื่อให้เกิดทักษะ ปฏิบัติจนเกิดความคล่องแคล่วด้วยความเข้าใจ

สาระการเรียนรู้
ทฤษฎีดนตรีสากล

กิจกรรฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
1. อธิบายทฤษฎีดนตรีสากลขันพื้นฐานได้
2. อ่าน เขียน สัญลักษณ์ต่างๆ ของดนตรีสากล และบันทึกโน้ตดนตรีสากลได้


ทฤษฎีดนตรีสากล
1. บรรทัดห้าเส้น (Staff)
บรรทัดห้าเส้น (Staff) ประกอบด้วยเส้นตรงขนานกันจำนวน 5 เส้น และช่องบรรทัดจำนวน 4 ช่อง โดยเส้นบรรทัดมีระยะห่างเท่ากัน การนับเส้นหรือบรรทัดห้าเส้นให้นับตามลำดับจากล่างไปบนโดยนับเส้นหรือช่องล่างสุดเป็น 1 2 3 4 5 ตามลำดับ ในการบันทึกตัวโน้ตและสัญลักษณ์ต่างๆ ทางดนตรีสากลจะบันทึกบนบรรทัดห้าเส้นเป็นหลัก


 2. ตัวโน้ต (Note)
ตัวโน้ต เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกแทนระดับเสียง และความยาวของเสียง ส่วนประกอบสำคัญของตัวโน้ต ได้แก่ ส่วนหัวตัวโน้ต และส่วนหางตัวโน้ต ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะโน้ตต่างๆ

2.1 เมื่อตัวโน้ตอยู่ต่ำกว่าเส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ขึ้น
2.2 เมื่อตัวโน้ตอยู่สูงกว่าเส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ลง
2.3 เมื่อกลุ่มตัวโน้ตอยู่เส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ขึ้นหรือลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลุ่มตัวโน้ต

การรวบรวมหางตัวเขบ็ต
โน้ตตัวเขบ็ตลักษณะเดียวกัน เช่น ตัวเขบ็ต 1 ชั้น หรือตัวเขบ็ต 2 ชั้น สามารถเขียนหางตัวโน้ตรวบรวมเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบง่ายต่อการอ่าน

3. ค่าตัวโน้ต
ค่าตัวโน้ต ลักษณะตัวโน้ตมีหลายลักษณะ ค่าตัวโน้ตลักษณะต่างๆ สามารถเปรียบเทียบค่าความยาวโน้ต และมีชื่อเรียกลักษณะโน้ตต่างๆ ดังนี้

ภูมิเปรียบเทียบค่าตัวโน้ต


แผนภูมเปรียบเทียบค่าตัวโน้ต


ตารางเปรียบเทียบค่านับ


จะเห็นว่าค่าจังหวะนับของโน้ตตัวกลมมากที่สุด ตัวขาว ตัวดำ ตัวเขบ็ต 1 ชั้น ตัวเขบ็ต 2 ชั้นและตัวเขบ็ต 3 ชั้น จะมีค่าลดลงทีละครั้งตามลำดับ เช่น


4. ตัวหยุด (Rest)
ตัวหยุด คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่กำหนดให้เงียบเสียงหรือไม่ให้เล่นในระยะ เวลาตาม
ค่าตัวหยุดนั้นๆ ตัวหยุดมีหลายชนิดสอดคล้องกับตัวโน้ตลักษณะต่างๆ

ตัวหยุดลักษณะต่างๆ ตามค่าตัวโน้ต

5. เส้นน้อย (Leger Lines)
เส้นน้อย คือ เส้นสั้นๆ ที่อยู่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าบรรทัดห้าเส้น มีระยะห่างเท่ากับบรรทัดห้าเส้นโน้ตที่อยู่ต่ำหรือสูงมากๆ จะต้องอาศัยเส้นน้อยตามลำดับ เช่นโน้ตที่คาบเส้นจะเรียงลำดับกับโน้ตที่อยู่ในช่องถ้าหากเส้นน้อยมีมากกว่าสามเส้น ควรใช้วิธีการเปลี่ยนกุญแจประจำหลักหรือใช้เครื่องหมายคู่แปดช่วย เพื่อให้สะดวกต่อการอ่าน
6. กุญแจ (Clef)
กุญแจ คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่บันทึกไว้ที่บรรทัดห้าเส้น เพื่อกำหนดระดับเสียงโน้ตที่อยู่ในช่องและอยู่บนเส้นของบรรทัดห้าเส้น กุญแจที่ใช้ในปัจจุบันมี 3 แบบ ดังนี้

6.1 กุญแจซอล หรือกุญแจ G (G clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตซอล (G) อยู่บรรทัดเส้นที่ 2 กุญแจชนิดนี้นิยมมากในกลุ่มนักดนตรี นักร้อง ใช้กับเครื่องดนตรีที่นิยมทั่วไป เช่น กีตาร์ ไวโอลินทรัมเป็ต ฯลฯ กญแจซอลมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ คือ เทรเบิลเคลฟ (Treble clef)

6.2 กุญแจฟา หรือกุญแจ F (F clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตฟา (F) อยู่บนเส้นที่ 4 กุญแจชนิดนี้นิยมใช้กับเสียงร้องหรือเครื่องดนตรีที่มีเสียงต่ำ เช่น เชลโล เบส ทรอมโบน ฯลฯกุญแจฟามีชื่อเรียกภาษาอังกฤษอีกชื่อคือ เบสเคลฟ (Bass clef)

กุญแจโดเทเนอร์ (Tenor clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับเชลโล และบาสซูน
6.3 กุญแจโด หรือกุญแจ C (C clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้เสียงโด (C) อยู่บนเส้นใดก็ได้ของบรรทัดห้าเส้น ให้เป็นเสียงโดกลาง
กุญแจโดอัลโต
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา
กุญแจโดเทเนอร์
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา


7. การเรียกชื่อตัวโน้ต
การเรียกชื่อตัวโน้ตสากลที่นิยมมี 2 ระบบ ได้เเก่

7.1 ระบบโซฟา (So-Fa system) ใช้เรียกตัวโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ดังนี้ โด (Do) เร (Re) มี (Mi) ฟา (Fa) ซอล (Sol) ลา (La) ที (Ti)

7.2 ระบบตัวอักษร (Latter system) ใช้เรียกชื่อโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง
ดังนี้ A B C D E F G โดยใช้ตัวอักษร A แทนด้วยตัว ลา

การเรียกชื่อโน้ตในกุญแจ
เมื่อใช้กุญแจซอล (G clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้
เมื่อใช้กุญแจฟา (F clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้

8. เส้นกันห้อง (Bar line)
เส้นกันห้อง คือ เส้นตรงแนวตั้งที่ขีดขวางบรรทัดห้าเส้น เพื่อกั้นแบ่งโน้ตในแต่ละห้อง ให้มีจำนวนจังหวะตามที่เครื่องหมายกำหนดจังหวะกำหนดไว้
8.1 ใช้กั้นห้องเพลง
8.2 ใช้กั้นจบตอนหรือจบท่อนเพลง โดยใช้เส้นกันห้องคู่ (Double Bar Line)

9. การเพิ่มค่าตัวโน้ต
การเพิ่มค่าตัวโน้ต และเพิ่มค่าตัวหยุด สามารถทำได้ดังนี้
9.1 การประจุด (Dot) คือ การประจุดที่ด้านขวาตัวโน้ต หรือที่ตัวหยุด จะมีผลให้ค่าโน้ตนั้นๆเพิ่มมากขึ้นครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตนั้น เช่น

   9.2 เครื่องหมายโยงเส้นทาย (Tie) ใช้กับโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกัน จะเพิ่มค่าเท่ากับค่าโน้ตสองตัวรวมกัน โดยจะเล่นที่โน้ตตัวแรก ลากเสียงไปสิ้นสุดที่ตัวสุดท้ายที่เครื่องหมายที่กำหนดไว้ เช่น
                9.3 ใช้สัญลักษณ์เฟอร์มาตา (Fermata) หรือเป็นเส้นโค้งครึ่งวงกลมมีจุดตรงกลาง ใช้บันทึกไว้ที่หัวโน้ต เพื่อเพิ่มค่าตัวโน้ตให้ลากยาวเท่าใดก็ได้ไม่ได้กำหนดไว้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เล่น เช่น
10. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ คือ ตัวเลขสองตัวที่เขียนไว้หลังกุญแจ คล้ายลักษณะเลขเศษส่วนแต่ไม่มีเส้นขีดคั่นกลาง เลขตัวบนจะบอกว่า 1 ห้องเพลงมีกี่จังหวะ ส่วนเลขตัวล่างบอกโน้ตที่ใช้เป็นเกณฑ์ 1 จังหวะ เช่น
            นอกจากนี้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ ยังมีลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งใช้แทนตัวเลขได้ เช่น
11. อัตราจังหวะ
อัตราจังหวะ เป็นเครื่องหมายกำหนดอัตราจังหวะ ที่บอกถึงค่าตัวโน้ต และจำนวนจังหวะในแต่ละห้องเพลง อัตราจังหวะ (Time) เป็นกลุ่มโน้ตที่ถูกจัดแบ่งจังหวะเคาะที่เท่าๆ กันในแต่ละห้องเพลงและทำให้เกิดชีพจรจังหวะ (Pulse) คือ การเน้นจังหวะหนัก-เบา กลุ่มอัตราจังหวะโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะคือ
11.1 อัตราจังหวะสองธรรมดา (Simple duple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 2 จังหวะ เช่น
11.2 อัตราจังหวะสามธรรมดา (Simple triple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 3 จังหวะ เช่น
11.3 อัตราจังหวะสี่ธรรมดา (Simple quadruple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 4 จังหวะ เช่น
เครื่องหมาย  > คือ การเน้นจังหวะที่โน้ตในจังหวะที่ 1 ของแต่ละอัตราจังหวะ


แสดงการเคาะอัตราจังหวะ 1 จังหวะ

พื้นฐานการเคาะ 1 จังหวะ อาจใช้การตบเท้าจากจุดเริ่มต้นตบเท้าลง คือ จังหวะตก แล้วยกเท้าขึ้นจุดเดิม คือ จังหวะยก



************************


กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

1. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง ตัวโน้ต ชื่อตัวโน้ตตัวหยุด สัญลักษณ์ต่างๆ โดยขอคำแนะนำจากครูผู้สอนหรือผู้รู้
2. นักเรียนจัดกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน หาโน้ตเพลงที่สนใจ ฝึกอ่านโน้ตเพลงบนบรรทัดห้าเส้น บอกชื่อโน้ตได้อย่างถูกต้อง
3. นักเรียนทำบัตรคำตัวโน้ต หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องทางดนตรีสากล คนละ 2-5 ใบ ใช้แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อถามเพื่อนในขั้นเรียน

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. โน้ตดนตรีสากล มีประโยชน์ต่อการเรียนดนตรีอย่างไร
2. เพราะเหตุใดผู้ฝึกเครื่องดนตรีสากลต้องฝึกอ่านโน้ตให้ชำนาญ




วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

องค์ประกอบของดนตรีสากล

องค์ประกอบของดนตรีสากล

บทเพลงต่างๆ เกิดขึ้นได้ ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญทางดนตรีที่รวมกันอยู่ในบทเพลงนั้นๆโดยทั่วไปองค์ประกอบพื้นฐานทางดนตรี ได้แก่ เสียง (Tone) จังหวะ (Rhythm) ทำนอง (Melody) เสียงประสาน (Harmony) รูปพรรณ (Texture) รูปแบบ (Form) สีสันของเสียง (Tone Color) ซึ่งจะมีการผสมผสานสอดคล้องกันทำให้เกิดความไพเราะในบทเพลง

สาระการเรียนรู้
องค์ประกอบของดนตรีสากล

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
๑. อธิบายองค์ประกอบของดนตรีสากล
๒. จำแนกองค์ประกอบของดนตรีได้
๓. แสดงความคิดเห็นที่มีต่ออารมณ์ของบทเพลง
๔. ระบุองค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม

องค์ประกอบของดนตรีสากล
องค์ประกอบของดนตรี คือ ส่วนสำคัญพื้นฐานทางดนตรีซึ่งรวมกันทำให้เกิดดนตรีหรือบทเพลงต่างๆเป็นรูปร่างขึ้นมาได้ โดยประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
๑. เสียง (Tone)
๒. จังหวะ (Rhythm)
๓. ทำนอง (Melody)
๔. เสียงประสาน (Harmony)
๕. รูปพรรณหรือพื้นผิว (Texture)
๖. รูปแบบ (Form)
๗. สีสันของเสียง (Tone Color)

๑. เสียง (Tone)
เสียง ในทางดนตรี หมายถึง เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดยจะเกิดจากการร้อง การเป่า การดีด และการสี เสียงจะประกอบด้วยคุณสมบัติเสียง ๔ อย่าง คือ ระดับเสียงความยาวของเสียง ความเข้มของเสียงและคุณภาพของเสียง
๑.๑ ระดับเสียง (Pitch) คือ ความสูงต่ำของเสียง ซึ่งเกิดจากความถี่ในการสั่นสะเทือน ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเร็วเสียงจะสูง ความถี่ของการสั่นสะเทือนช้าเสียงจะต่ำ
๑.๒ ความยาวของเสียง (Duration) คือ ความยาวสั้นของเสียง เสียงดนตรีอาจมีควานยาวเสียงเช่น เสียงสั้นๆ เสียงยาวมาก ซึ่งเป็นพื้นฐานในเรื่องของจังหวะ (Rhythm)
๑.๓ ความเข้มของเสียง (Intensity) คือ ความแตกต่างของเสียงจากค่อยไปจนถึงดัง ซึ่งเป็นพื้นฐานเรื่องจังหวะเน้นในทางดนตรี
๑.๔ คุณภาพของเสียง (Quality) คือ คุณภาพของเสียงแต่ละชนิด เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุที่ทำให้เกิดเสียงนั้นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานเรื่องสีสันของเสียง (Tone Color)

๒. จังหวะ (Rhythm)
                จังหวะ คือ สัญลักษณ์ที่บอกความยาว สั้น (Duration) ของตัวโน้ตและตัวหยุด โดยไม่มีระดับเสียง ในบทเพลงจะมีองค์ประกอบจังหวะ ดังนี้

๒.๑ ความเร็วของจังหวะ (Tempo) เทมโป มาจากภาษาอิตาเลียน หมายถึง เวลา ในทางดนตรี หมายถึง ความเร็ว ช้า ปานกลาง ซึ่งถูกกำหนดไว้ในบทเพลง โดยมีเครื่องกำหนดความเร็วที่เรียกว่าเมโทรนอม (Metronome) และมีชื่อเรียกกำหนดความเร็วจังหวะ ได้แก่
Presto                     เร็วมาก
Allegro                   เร็ว
Moderato                ความเร็วปานกลาง
Adagio                    ช้าๆ ไม่รีบร้อน
Largo                      ช้ามาก

๒.๒ อัตราจังหวะ (Time) คือ การจัดกลุ่มจังหวะตบ (Beat) เป็น ๒, , ๔ จังหวะเคาะเน้นจังหวะหนัก เบา ของจังหวะตบที่เกิดขึ้น

จังหวะตบ (Beat) หมายถึง จังหวะที่ดำเนินไปเรื่อยๆ คล้ายการเต้นของหัวใจตัวอย่างอัตราเช่น


๒.๓ รูปแบบจังหวะ(
Rhythm Pattern) คือรูปแบบกระสวนจังหวะของจังหวัดที่ถูกกำหนดไว้เพื่อเป็นจังหวะในการบรรเลงบทเพลง เช่น จังหวะมาร์ช (March) จังหวะวอลซ์ (Waltz) จังหวะร็อค (Rock) เป็นต้น

๓. ทำนอง (Melody)
ทำนอง คือ การจัดเรียงลำดับสูง ต่ำ และความยาว สั้น ของเสียงตามแนวนอน ทำนองเป็นองค์ประกอบดนตรีที่ง่ายต่อการจำเหมือนภาษาพูดที่เป็นประโยค เพื่อสนองความคิดของผู้พูดดังนั้นการเข้าใจดนตรีจึงต้องจำทำนองให้ได้

๔. เสียงประสาน (Harmony)
เสียงประสาน คือ การผสมผสานเสียงตั้งแต่ ๒ เสียงขึ้นไป โดยบรรเลงพร้อมกันการประสานเสียงมีทั้งให้ความกลมกลืนไพเราะ และไม่กลมกลืน การนำเสียง ๒ เสียงมาบรรเลงพร้อมกันจะเรียกว่า ขั้นคู่เสียง (Interval) ถ้านำเสียง ๓ เสียงขึ้นไปมาบรรเลงพร้อมกันจะเรียกว่า คอร์ด (Chord)

๕. รูปพรรณหรือพื้นผิว (Texture)
รูปพรรณ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างทำนองกับเสียงประสาน ซึ่งทำให้เกิดเป็นภาพรวมของดนตรี รูปพรรณดนตรีมีหลายแบบ คือ
๕.๑ แบบโมโนโฟนี (Monophony) คือ ดนตรีแนวทำนองแนวเดียว ไม่มีเสียงประสานหรือองค์ประกอบใด
๕.๒ แบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือ ดนตรีที่มีแนวทำนองหลักเป็นแนวที่สำคัญที่สุดในขณะที่แนวอื่นๆ เป็นเพียงแนวประสานเสียงด้วยคอร์ดเข้ามาช่วยให้ทำนองหลักไพเราะขึ้น เช่นเพลงไทยสากล เพลงพื้นบ้าน (Folk Song) เป็นต้น
๕.๓ แบบโพลิโฟนี (Polyphony) คือ ดนตรีที่ใช้แนวทำนองหลายแนวเพื่อมาประสานกับทำนองหลัก ทำนองหลักจะเป็นแนวที่สำคัญ แต่แนวอื่นๆ ก็เป็นทำนองรองและเป็นแนวประสานเมื่อเล่นจะพบว่าแต่ละแนวเป็นทำนองด้วยเช่นกัน

๖. รูปแบบ (Form)
รูปแบบ คือ โครงสร้างของบทเพลงที่มีแบบแผน ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงมักจะมีรูปแบบการแต่งเพลงตามที่ตนเองคิดไว้ เช่น การแบ่งเป็นห้องเพลง เป็นวลี (Phrase) เป็นประโยค (Sentence) และเป็นท่อนเพลง รูปแบบของบทเพลงในปัจจุบัน ได้แก่
๖.๑ ยูนิทารี (Unitary Form) หรือ One Part Form คือ บทเพลงที่มีแนวทำนองสำคัญเพียงทำนองเดียวตั้งแต่เริ่มต้นจนจบสมบูรณ์ เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงชาติ เป็นต้น
๖.๒ ไบนารี (Binary Form) หรือ Two Part Form คือ บทเพลงที่มีรูปแบบประกอบด้วย๒ ส่วนใหญ่ๆ เช่น ท่อนทำนอง A และท่อนทำนอง B เรียกบทเพลงบทนี้ว่า รูปแบบ A B
๖.๓ เทอร์นารี (Ternary Form) หรือ Three Part Form คือ บทเพลงที่มีรูปแบบประกอบด้วย ๓ ส่วนใหญ่ๆ มีส่วนกลางที่แตกต่างไปจากส่วนต้นและส่วนท้าย เช่น ท่อนทำนองที่ ๑ A, ท่อนทำนองที่๒ B, ซึ่งทำนองแตกต่างกันออกไป และท่อนที่ ๓ A ก็มีทำนองคล้ายกับท่อนที่ ๑ A เรียกบทเพลงแบบนี้ว่ารูปแบบ A B A
๖.๔ ซองฟอร์ม (Song Form) คือ การนำเทอร์นารีฟอร์มมาเติมส่วนหลักแรกลงอีก ๑ ครั้ง
จะได้รูปแบบ A A B A เรียกว่า ซองฟอร์ม โครงสร้างแบบนี้มักพบในเพลงทั่วๆ ไป
๖.๕ รอนโด (Rondo Form) คือ รูปแบบการเน้นที่ทำนองหลัก โดยในบทเพลงจะมีหลายแนวทำนอง ส่วนทำนองหลักหรือทำนองแรกจะวนอยู่ระหว่างทำนองอื่นๆ ที่ต่างกันออกไป อาจแบ่งได้ ๓ รูปแบบคือ
๖.๕.๑ Simple Rondo คือ การเปลี่ยนไปมาของทำนองหลักกับทำนองที่ ๒ เช่น A B A B A
๖.๕.๒ Second Rondo คือ การเปลี่ยนไปมาของทำนองหลักกับอีก ๒ แนวทำนอง เช่น A B A C A
๖.๕.๓ Third Rondo คือ การเปลี่ยนไปมาของทำนองหลักกับอีก ๓ แนวทำนองโดยจัดเรียงกัน เช่น A B A C A D A

๗. สีสันของเสียง (Tone Color)
สีสันของเสียง คือ คุณสมบัติของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิด รวมถึงเสียงรัองของมนุษย์ซื่งแตกต่างกันไปในเรื่องของการดนตรี สีสันของเพลงอาจเกิดจากการร้องเดี่ยว การบรรเลงเดี่ยวโดยผู้แสดงเพียงคนเดียว หรือการนำเครื่องดนตรีหลายชนิดเสียงร้องมาร่วมบรรเลงด้วยกันก็เกิดเป็นการรวมวงดนตรีแบบต่างๆ ขึ้น

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑. บทเพลงสมัยนิยมยุคปัจจุบัน ส่วนมากจะมีรูปแบบ (From) แบบใด
๒. องค์ประกอบเพลงร้องที่ไม่มีดนตรี ประกอบด้วยองค์ประกอบใดบ้าง

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. ให้นักเรียนเลือกฟังเพลงตามความสนใจ โดยขอคำแนะนำจากครูผู้สอนหรือผู้มีความรู้ด้านดนตรีสากล
๒. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน เลือกบทเพลงที่สนใจ จัดทำรายงานเกี่ยวกับองค์ประกอบของเพลงที่ฟัง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยบอกเหตุผลที่เลือกและสนใจบทเพลงนั้นๆ



ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยจากวัฒนธรรมไทย

ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยจากวัฒนธรรมต่างๆ   ดนตรีไทยมีมาแต่สมัยสุโขทัย และพัฒนาสืบเนื่องต่อมาจนปัจจุบันทั้งเครื่องดนตรีรูปแบบก...